วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นิตยสารสวัสดี : สื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้รับรางวัล

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjKVsEfW3vwuGPAg85Fv2DhhzQyF3jAMx0Mqc-JdH1th2gOKhdEmIrZRzJHhbFJ9zZPQ3sqcLr3Sy_bKp6UEQ_kR6w4ucs13FdQ43T1XYIvT1of1TVeoPaMXfveIgWJ-0lCa-hAQabfcCY/s400/Sawasdee+July+2009001LR.jpg

           ถ้าพูดถึงนิตยสารทุกคนก็คงจะนึกถึงหนังสือที่วางขายกันทั่วๆ ไปตามร้านขายหนังสือ  จะมีสักกี่คนรู้ว่ายังมีนิตยสารฉบับหนึ่งที่ไม่มีวางขายที่ไหน  แต่ให้คุณอ่านกันฟรีๆ  เพียงแค่คุณเป็นผู้โดยสารของเครื่องบินสายการบินไทย  ในทุกการเดินทางคุณก็จะเห็นนิตยสารเล่มหนึ่งที่ใส่ไว้ในกระเป๋าที่นั่งด้านหน้า  นิตยสารเล่มนี้มีชื่อว่า  “สวัสดี(SAWASDEE)”
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh_MPKbK_b6a0jIgXZOqUWB8dS5K9M8uYkux2mVjkbueAl2suj_rJ35T9lHRWWu189uZZBiaq02lIxtUoJyV9dkzBdU-VxFq8uGmbD6A9SZDBjTuTqIiqMfg1G5Div8237C2z05nSjXrPo/s200/2002-2-awards.jpg

             นิตยสารสวัสดี ของการบินไทยได้รับรางวัลในการประกวดการออกแบบสิ่งพิมพ์ ครั้งที่ 37 ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมนักออกแบบสิ่งพิมพ์ (Society of Publication Designers) ที่นครนิวยอร์ก โดยนิตยสารสวัสดี ได้รับรางวัลในหัวข้อ "Design Features" และ "Photography: Reportage (story)"  ถามถึงเหตุผลที่เลือกสื่อสิ่งพิมพ์ชิ้นนี้มาวิเคราะห์  เนื่องจากเป็นสวัสดีเป็นนิตยสารที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน  นั่นก็คือเป็นหนังสือสำหรับผู้ที่สนใจการการท่องเที่ยว  อีกทั้งยังเป็นหนังสือที่ได้รับรางวัลอย่างเป็นสากลในเรื่องของการออกแบบและภาพ  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจของประเทศไทยเราด้วย

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi6EOlmI7tgH1hQYJ6tzCn1noo5kwCWHq-V5fYeVyADLFzQX0nGx5mVsWMKalAPCXmmFxrISrbA1VJvRhk02G4BpzUriO6K_0GF-xucu1Gkq4T79fPVcSirf5pw3nI7s1w5g5UXwp8sBhA/s320/DSC00672.jpg

            กล่าวถึงในเรื่องของการออกแบบ  สวัสดีมีเอกลักษณ์  จดจำได้ง่าย  จุดเด่นของนิตยสารสวัสดีอยู่ที่การนำสถานที่ที่น่าสนใจ  และเป็นที่นิยมในขณะนั้นมาลงบนปกนิตยสาร  รวมถึงสถานที่ที่น่าสนใจ  เทศกาล  ศิลปะการแสดง  แหล่งท่องเที่ยวต่างๆของประเทศไทยก็ได้นำมาลงบนปกนิตยสารด้วย  ถือเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศของเราให้ทั่วโลกได้รู้จักไปในตัวอีกด้วย  การจัดวางองค์ประกอบของภาพมีสัดส่วนที่สมดุล  ไม่หนักมากจนเกินไป   สีสันของภาพมีความเหมาะสมตามการเลือกภาพแต่ละภาพมาใช้  เช่น  เลือกภาพแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ  ก็จะใช้สีสันที่สดใส  สบายตา  ส่วนสถานในยามค่ำคืนก็จะเน้นโทนสีเข้มบ่งบอกถึงความงามของยามค่ำคืนได้ชัดเจน  ถือว่าเป็นการดึงดูดใจต่อผู้ที่ได้หยิบหนังสือขึ้นมาอ่าน  ทำให้ต้องเปิดเข้าไปดูเนื้อหาภายในเล่มได้โดยปฏิเสธไม่ได้
            ขนาดและรูปแบบตัวอักษรของนิตยสาร  มีการเลือกใช้สีที่ตัดกับภาพ  ทำให้ตัวอักษรไม่ถูกกลืนไปกับภาพพื้นหลัง  สร้างความสมบูรณ์ให้แก่ปกนิตยสารได้เป็นอย่างดี   ขนาดของตัวอักษรที่เป็นส่วนของชื่อนิตยสารมีความชัดเจนและอ่านง่าย  คำโปรยหรือข้อความแนะนำเนื้อหาเด่นภายในเล่มจัดวางไว้ได้เหมาะสม  ไม่หนักไปข้างใดข้างหนึ่งของหน้าปก  มีการเลือกบริเวณที่ดีข้อความใช้แบบอักษรอ่านง่าย  สีสันไม่จัดจนเกินไป  เมื่อมองในภาพรวมจะเห็นว่าเป็นนิตยสารที่มีความสมบูรณ์ในทั้งด้านภาพและตัวอักษร  แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในรายละเอียดของผู้จัดทำ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEibbL77D7QuDh0brMoyw41J8ecEBNXvtjZIzNCevQVFlkztNpjzjIx2GFXUIbHRJtt9MjLCF14zfkEiXvALVUT5HeMLUb8OMM7Af7Y1gZeL7fmp9_nqJzNztE8WsABFnjkCBxRC1DazZ08/s200/post-133-12636547579_thumb.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgZtDOiQbyaPv-FjMKe6tRKJ0xvmI8TYsZwVs3LQD7roCwZbyU6lcLgR8xemHIYws0iVgCiTJmnvVVnzX72rZVH2KoCOf25gxeS_J0ZuNe8XSWnwAuDHGPTq8HtIExfqyNSXSnobZWI0Wc/s200/post-133-126365504104_thumb.jpg

            หนังสือได้จัดทำเป็น  2  ภาษาในเล่มเดียวกัน  ภายในเล่มมีการจัดวางเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ  แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ  องค์ประกอบภาพมีสัดส่วนที่เหมาะสมกับเนื้อหา  จัดวางได้ดีไม่มากหรือน้อยจนเกินไป  ทำให้หนังสือน่าสนใจมากขึ้น  เพราะถ้ามีการจัดวางเนื้อหาที่อัดแน่นจนเกินไปผู้อ่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่ายก็เป็นได้  ภาพสีสันสดใสทั้งเล่มทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกที่ดีเมื่อได้เปิดอ่านนิตยสารฉบับนี้  

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiy7BFrpsWT1Bs3HAUxdvLm8G5wP9nnRYBezF9hDA0q4cOmdfBCl7oHho3dvcicKJ4drpTbvQY6_I4vS7ig5pDYGcerdLK1BAPHJPQLa8N8UF4HqQPyX7rGYh1ADVCHF-J2El_I_gTgXwo/s320/The_Beaches_Of_Thailand.jpg

            ไม่ว่าสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตามแต่เชื่อได้ว่า  “ความเอาใจใส่”  คือเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างยิ่งในเรื่องของการออกแบบ  เพราะถ้าเจ้าของผลงานมีความเอาใจใส่ในตัวงาน  ผลงานที่ได้ก็จะไม่ดูหนักมากจนเกินไป  หรือเบาจนไม่น่าสนใจ  ถ้ามีความละเอียดอ่อน  เอาใจใส่  ผลงานก็จะมีความพอดี  ซึ่งสิ่งนี้เองเป็นการสร้างความโดดเด่นให้กับตัวของผลงานเมื่อออกไปสู่สายตาผู้อ่านหรือผู้บริโภค  นิตยสารสวัสดี  ก็เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนึ่งที่เจ้าของผลงานมีความใส่ใจในทุกๆรายละเอียด  จึงทำให้งานออกมาดีและเป็นที่ยอมรับจากสากลโดยมีรางวัลที่ได้รับเป็นเครื่องหมายยืนยัน  หากมีโอกาสได้เดินทางโดยสายการบินไทยรับรองได้ว่าจะไม่พลาดที่จะหยิบนิตยสารที่ชื่อว่า “สวัสดี” มาอ่านอย่างแน่นอน!!!


แหล่งข้อมูล...














วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์และอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ตนเองชื่นชอบ


http://3.bp.blogspot.com/-2LPZv5FzZwM/TyDlBtVNBzI/AAAAAAAAAMM/0vkLF-wrzG4/s400/1-63.jpg

ตั๋วรถเมล์...สิ่งพิมพ์เรียบง่าย  ที่อยู่ใกล้ตัว
           สิ่งพิมพ์ที่ใครหลายๆ คนคงรู้จักกันดีในยุคนี้  แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตรูปลักษณ์  และการออกแบบของกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่เรียกว่า “ตั๋วรถเมล์”   โดยส่วนตัวแล้วฉันเป็นคนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า รถเมล์ อยู่เป็นประจำ  พอได้ลองสังเกตเจ้ากระดาษแผ่นเล็กๆ ดูอย่างตั้งใจ  ก็รู้สึกว่าสนใจว่ามันมีอะไรมากกว่าที่จะเป็นแค่เศษกระดาษ  เพื่อยืนยันการจ่ายเงินค่าโดยสารรถประจำทางเพียงเท่านั้น  สิ่งนี้เองทำให้ฉันอยากจะวิเคราะห์หลักการออกแบบของสิ่งพิมพ์ที่มีความเรียบง่าย และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด  ดังเช่นตั๋วรถเมล์ใบเล็กๆ สิ่งนี้นั่นเอง
          ไม่น่าเชื่อว่าตั๋วเพียงหนึ่งใบจะสื่อความหมายหลายๆ อย่างเอาไว้ได้เป็นอย่างดี  หลังจากคิดที่จะวิเคราะห์เจ้ากระดาษแผ่นน้อยนี้แล้ว  จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตั๋วรถเมล์  จึงได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นไปอีกว่ากระดาษแผ่นเล็ก  เปรียบเหมือน “กระดาษมหัศจรรย์” ทุกตัวอักษร  ทุกตัวเลขบนแผ่นกระดาษมีความหมายในตัวของมันเองอยู่ทั้งสิ้น  ทั้งๆ ที่เราเองก็เคยสงสัยแต่ไม่เคยที่จะสนใจในจุดนี้  ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ฉันได้รับเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ  ภายในตั๋วรถเมล์หนึ่งใบ  ในที่นี้จะพูดถึงรูปลักษณ์หรือองค์ประกอบภายนอกโดยรวมของตั๋วรถเมล์  กระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมแผ่นเล็กๆ  ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมานั้นพอจะวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของตั๋วรถเมล์ตามความเข้าใจของเราเอง 

          สังเกตได้ว่าในเรื่องของความสมดุล  (Balance) ตั๋วรถเมล์มีการกำหนดจุดศูนย์กลางของชิ้นงาน  เห็นได้ชัดจากเมื่อเรามองภายในตั๋วก็จะเห็นตัวเลขพิมพ์ด้วยสีเข้มหนาเรียงกันอยู่ส่วนกลางของกระดาษอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ตัวอักษรที่มีความหนาหนัก ก็จะมีภาพสีสว่างสดใสมาช่วยให้สว่างขึ้น  และการที่พื้นหลังสีอ่อนช่วยทำให้ตัวอักษรไม่ถูกกลืนไปกับพื้นหลังได้เป็นอย่างดี  ตัวอักษรในกระดาษมีการกระจายเท่ากันทั้งซ้ายขวาของศูนย์กลาง ถือว่าในเรื่องความสมดุลตั๋วรถเมล์จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสมดุลที่เหมาะสม 
ในเรื่องของความมีเอกภาพ (Unity) ตั๋วรถเมล์มีเอกภาพ  ดูได้จากลักษณะของการใช้ตัวอักษรในลักษณะเดียวกัน เลือกใช้สีจากชุดสีเดียวกัน มีการวางโครงร่างได้เป็นระเบียบในทิศทางเดียวกันได้อย่างเหมาะสม อาจจะยังมีตั๋วรถเมล์บางส่วนที่ใช้สีไม่ไปในทิศทางเดียวกัน  แต่ก็ถือว่าเป็นแค่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น 
  การเน้นจุดแห่งความสนใจ (Emphasis) ในส่วนบริเวณค่าโดยสารจะมีการทำพื้นทึบเป็นสีเข้มและตัวอักษรสีขาว  ทำให้ดูเด่นกว่าส่วนอื่นๆ ขึ้นมาได้เล็กน้อย  แต่ก็ไม่ถึงกับสะดุดตามากนัก  เนื่องจากสีของพื้นเป็นสีชุดเดียวกันกับทั้งแผ่นตั๋ว เรื่องของจังหวะ (Rhythm)  มีการเว้นช่องไฟที่ดี  ทำให้เมื่อมองภาพโดยรวมแล้วไม่รู้สึกอึดอัดตา สุดท้ายในเรื่องของความเรียบง่าย (Simplicity) ตั๋วรถเมล์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ถือว่ามีความเรียบง่าย  จะเห็นได้จากการจัดวางตัวอักษร และตัวเลขที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน
จากการวิเคราะห์หลักการออกแบบตั๋วรถเมล์ข้างต้นตามความเข้าใจของตนเองแล้ว  รู้สึกได้ว่าตั๋วรถเมล์มีขั้นตอนการออกแบบที่ดี  มีความเหมาะสมในภาพโดยรวมแล้ว  ถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ให้ความใส่ใจกับรายละเอียดของการผลิตได้เป็นอย่างดี  อาจจะมีข้อบกพร่อง  ไม่เรียบร้อยบ้าง  แต่โดยรวมก็ถือว่ามีความเป็นแบบแผน  และทิศทางที่ชัดเจนในการผลิต  หากถ้าใครได้ลองใช้เวลาสักนิดเพื่อสังเกตตั๋วรถเมล์ในมือของตนเองแล้วก็จะเข้าใจในสิ่งที่ฉันได้สื่อสารออกไป เชื่อว่าหลายๆคนก็ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ฉันได้บอกออกไปอย่างแน่นอน  เพียงแค่คุณได้ลองเปิดใจ  ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของเศษกระดาษใบเล็กๆหนึ่งใบเพียงเท่านั้น...
http://3.bp.blogspot.com/-XuojqLl6RC4/TyFVMappQPI/AAAAAAAAAM0/l_tRZyECzZM/s320/7qHdC1210695479-1.jpg

http://1.bp.blogspot.com/-dxFdI0MCSGE/TyFl_y7afZI/AAAAAAAAANM/byjejPGdLtU/s200/tk03.jpg


แหล่งข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
http://student.nu.ac.th/saomee/lesson3.html
http://www.bangkokprint.com/index.php?knowledge=knowledge47
http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976245


               _____________________________________
เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย...เกี่ยวกับ “ตั๋วรถเมล์”

http://3.bp.blogspot.com/-IjK2p_7YOec/TyFELtDyRZI/AAAAAAAAAMc/yGibK3q8RNQ/s320/62290_70.jpg

         1. เลข 1-15 หมายถึง ตัวเลขแทนช่วงระยะทาง ตัวเลขเหล่านี้หมายถึงระยะทางที่กรมการขนส่งได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งรถเมล์ทุกสายไม่ว่าจะเป็นเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หรือรถร่วมบริการต้องใช้ร่วมกัน อย่างเช่นเลขที่แทนช่วงระยะทางที่ 1 ก็จะมีระยะทางตั้งแต่ตลาดอตก.3 เลี้ยวถึงถนนประชาราษฎร์ ระยะทางที่ 2 ก็จะมีระยะทางตั้งแต่ถนนประชาราษฎร์ถึงสะพานพระราม 7 เป็นต้น ตัวเลขแทนช่วงระยะทางนี้จะมีมากกว่าหรือน้อยกว่า 15 ช่วงระยะก็ได้ ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ให้บริการว่าจะให้บริการเส้นทางที่ใกล้ไกล มากน้อยขนาดไหน
            นอกจากจะแทนช่วงระยะทางแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ยังสามารถบอกให้กับผู้โดยสารและนายตรวจตั๋วได้รู้อีกว่า ผู้โดยสารขึ้นจากรถเมล์ป้ายไหน และนับเป็นช่วงระยะทางที่เท่าไหร่ และถ้าเป็นรถเมล์ที่จ่ายเงินตามระยะทาง ก็จะบอกถึงราคาในแต่ละระยะทางอีกด้วย 
         2. โลโก้ของบริษัท บริษัทที่ให้บริการผู้โดยสารขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะใช้โลโก้แบบไหน ถ้าหากเป็นรถของขสมก. ก็จะเป็นตราของขสมก. แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชน ก็จะมีตราบริษัทที่ต่างกันออกไป จะเห็นได้จากตั๋วใบนี้ที่โลโก้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ BSS

         3. เลขรหัสม้วนตั๋ว เป็นเลข 3-4 หลักแรก (ซึ่งในแต่ละองค์กรที่ให้บริการจะกำหนดไม่เท่ากัน) ใน 7 หลัก ซึ่งจะแทนเส้นทางการเดินรถที่ทาง ขสมก. กำหนดขึ้น รวมทั้งยังแทนสายรถเมล์สายนั้นๆ ด้วย

         4. เลขจำนวนผู้โดยสาร เป็นเลข 3-4 หลักต่อท้ายจากเลขรหัสม้วนตั๋ว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 000 ในทุกๆ ม้วนตั๋วและจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้โดยสารในแต่ละวัน รู้อย่างนี้แล้วใครที่อยากได้ตั๋วที่ลงท้ายด้วย 000 ไปรอกันที่ท่ารถตั้งแต่รถออกได้เลย

         5. เลขหมวดตั๋ว เป็นเลขที่แทนรอบการผลิตตั๋วและแทนรถเมล์สายนั้นๆ ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1-1000 เลยทีเดียว อย่างเช่นตั๋วรถเมล์ในรูปนี้ เลขหมวดตั๋วคือ 55

         6. สีของตั๋ว สีของตั๋วนอกจากจะบอกถึงราคาแล้ว สำหรับรถเมล์ปรับอากาศคำนวณราคาตามระยะทางยังสามารถบอกถึงช่วงระยะในการเดินทางของผู้โดยสารอีกด้วย

แหล่งข้อมูลhttp://www.hflight.net/forum/m-1251967996/

วันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์...“หนังสือเรื่องย่อละคร”


               ในยุคที่ผู้คนกำลังแข่งขันกันสูงตั้งแต่เรื่องของการศึกษา  การทำงาน  การบริหารในระดับท้องถิ่น  ระดับประเทศ ต่อไปจนถึงระดับโลก  ทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เกิดภาวะเครียด กันเป็นอย่างมาก  นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ รอบๆ ตัวเราด้วย  ตัวอย่างเช่น  เรื่องการเมือง  เศรษฐกิจ  ยาเสพติด ปัญหาความแตกแยก เป็นต้น  ทำให้ผู้คนจำนวนมากหาทางผ่อนคลายโดยการสร้าง “ความบันเทิง” ให้กับตนเอง  ละครโทรทัศน์จึงถือว่าเป็นวิธีการคลายเครียดให้กับผู้คนทุกช่วงวัยได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องรับชมในปริมาณที่พอเหมาะพอดีด้วยถึงจะเรียกว่าเป็นการผ่อนคลายได้จริงๆ

                 หนังสือเรื่องย่อละคร...ถือว่าเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือบันเทิงคดี  มีอิทธิอย่างมากต่อคนในสังคมไทย  โดยเฉพาะกลุ่มสาวๆ  (วัยรุ่น และวัยทำงาน)  เช่น เด็กนักเรียน  สาว office  แม่บ้าน เป็นต้นละครทางโทรทัศน์ช่วยสร้างความบันเทิงให้กับทุกคนหลังจากตึงเครียดมาทั้งวัน  ช่วงเวลาในการชมละครจึงเป็นเวลาที่ได้พักผ่อน  และคุณเคยเป็นไหม? เวลาเรารู้สึกชอบละครเรื่องอะไรมากๆ แต่เหมือนความสุขของเราขาดตอน  เพราะเวลาจำกัดต้องรออาทิตย์ถัดไป  หนังสือเรื่องย่อละครจึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่ไม่อยากให้ความสนุกขาดตอนไป  จึงทำให้มีหนังสือมีวางขายอยู่มากมายตามแผงหนังสือ   ร้าน 7-Eleven  รวมถึงร้านหนังสืออย่างแพร่หลาย ซึ่งมีทั้งละครไทย  และละครต่างประเทศ(เกาหลี)
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgiJqYnkSLfuoGKQ5dhRoPtsoePlx00kGKjaeolrDfLtJ-CGrSJhFVXn_CkErOgWB8lL3bzvn0PLkFl88A7-VWMkcpjVD7h23iW8A4svIXSIV0SUrSDfEHeHnjSoJ58W48ipdJYFwz4Pbc/s320/book.jpg

                อิทธิพลจากหนังสือเรื่องย่อละครเป็นผลมาจากละครทางโทรทัศน์  เรื่องใดได้รับความนิยมมากเรื่องนั้นก็จะขายดีเป็นพิเศษ  เพราะคนติดเรามักเสพติดความบันเทิง  พูดถึงอิทธิพลของหนังสือเรื่องย่อละครแล้ว  ก็มีทั้งด้านบวกและด้านลบ  ก็อยากจะนำเสนอด้านดีๆ ของการอ่านหนังสือประเภทนี้กันก่อน  อันดับแรกก็คือ  ผู้อ่านจะรู้สึกเพลิดเพลินใจ  มีความสุข  จากละครที่เราชื่นชอบ  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปคุยกันในกลุ่มเพื่อนได้  เพราะบางทีถ้าเราไม่ได้อ่าน  เราจะคุยกับเขา “ไม่รู้เรื่อง”  ซึ่งโดยนิสัยของผู้หญิงแล้ว  บางทีเรื่องเล็กน้อยก็เป็นเรื่องใหญ่สำหรับความรู้สึกของใครหลายๆ คน  การอ่านหนังสือทำให้เรารู้เนื้อหาก่อน  ก็จะทำให้เรามีความเข้าใจในการชมละครมากยิ่งขึ้น  เรียกได้ว่าหนังสือมีอิทธิพลทางด้านจิตใจอย่างสูงเลยทีเดียว  เคยได้ยินมาจากที่ไหนสักแห่งเขาบอกกันว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะมีอารมณ์  อยู่เหนือเหตุผล เมื่อลองคิดตามดูแล้ว  ก็ต้องขอสนับสนุนคำพูดประโยคที่ว่านี้
                มีด้านบวก  ก็ต้องมีด้านลบเป็นเรื่องธรรมดา  เพราะไม่มีอะไรที่จะสมบูรณ์แบบไปทั้งหมด  อิทธิพลทางด้านลบของหนังสือประเภทนี้ก็มีให้เห็นง่ายๆคือ  ถ้าเราติดมากจนเกินพอดีหนังสือก็จะเป็นสิ่งเสพติดขนานดี  ชนิดที่เรียกว่าเสพติดไม่ต่างกับสารเสพติดต่างๆก็ว่าได้  อาจจะดูเหมือนแรงเกินไป  แต่ถ้าสังเกตดีๆ แล้วคนที่ติดมากๆ ก็จะให้ความสำคัญกับสิ่งนี้มากจนเกินไป จนเบียดเบียนเวลาการทำงานของตนเอง  ทำให้เสียเวลาในเรื่องที่จำเป็น  มีผลกระทบต่อผู้อื่น  อาจจะเป็นได้ทั้งเพื่อนร่วมงาน   คนรอบข้างเกิดความไม่พอใจ  ทำให้งานไม่สำเร็จตามเป้าหมาย  อาจจะส่งผลกระทบต่อองค์กรที่ตนเองทำงานอยู่  นอกจากนี้แล้วคนที่อ่านหนังสือประเภทนี้ทำให้รู้เรื่องล่วงหน้า  เมื่อร่วมรับชมละครพร้อมกับผู้อื่นที่ไม่ได้อ่านมาก่อนก็จะทำให้บุคลรอบข้างไม่พอใจได้  แล้วความสนุกสนานเพลิดเพลิน  ก็จะลดน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน
                เราจะเห็นได้ว่าสื่อสิ่งพิมพ์เกือบทุกประเภทมีอิทธิพลต่อตัวของเราเอง  ขยายวงกว้างไปสู่ผู้คนรอบข้าง  สังคมไทย  ต่อไปจนถึงสังคมโลก  อาจจะดูไม่น่าเชื่อว่าสื่อสิ่งพิมพ์จะทำให้เกิดอิทธิพลได้ยิ่งใหญ่ขนาดนี้  แต่คุณอย่าลืมสิว่าเรื่องใหญ่ๆ  มักจากเริ่มต้นจาก จุดเล็กๆ เสมอ  ซึ่งฉันก็เชื่อในสิ่งที่ว่านี้  โดยสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ใครเลยนอกจากตัวของเราเอง  จากปากต่อปาก จากที่หนึ่งไปสู่ที่อีกแห่งหนึ่ง  ต่อไปเรื่อยๆ เรื่อยๆขยายวงกว้างไปจนไม่มีที่สิ้นสุด  ตราบเท่าที่ชีวิตของเราจะอยู่รอดูความเปลี่ยนแปลงนั้นได้  ฉันเชื่อว่าหนังสือเรื่องย่อละครก็เป็นสื่อสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างมากระดับหนึ่งในขณะนี้  มันอาจจะเริ่มจากเรื่องเล็กๆ  จากคนหนึ่งคนที่มีความชื่นชอบ  ความสนใจ  ในเรื่องของความบันเทิง  อย่างเช่นละครโทรทัศน์  ได้หยิบหนังสือไปจ่ายเงิน  แล้วเดินออกจากร้านขายหนังสือ  เมื่อได้อ่านแล้วรู้สึกประทับใจก็เอาไปบอกต่อ  เล่าสู่กันฟัง  คุยกันในกลุ่มเพื่อน  หลังจากนั้นเมื่อมีกลุ่มคนที่สนใจในสิ่งเดียวกัน  ก็จะเชื่อมโยงกันต่อไปเรื่อยๆ  จะเห็นได้ว่าอิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์ก็เหมือนดาบสองคม  มีด้านบวกก็ต้องมีด้านลบ  อยู่ที่ว่าคุณจะเลือกหยิบมันมาใช้อย่างไรให้เป็นประโยชน์มากที่สุดกับตัวคุณเอง  บางทีคิดเล่นๆ หากเราลองหยิบอิทธิพลด้านบวกมาผสมกับด้านลบ  เราอาจจะได้ความลงตัว ที่คุณเองอาจจะคาดไม่ถึงก็ได้...         

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjGp6HOqWWmtq-Jq5mHxwdFQRq5TlZuzYTDPfTrt-d0mfZZG3nwW466Hg1XyGClgXXdiUmgG_0zOE74NXJz64-AENhf0dHGLtmRSbgQ_PTqIHL-idPItxB_q_wTELMaOn78LzrL9SC1Dr4/s200/ofkl71.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhWC47nG70OAW29Zqk73auHaBcF20PN1oQJED7mQ_fmKKMsfbe_nuqWYqyr55r2KZWBQojr6tRtvWmHwtzp1Ppxo7HwTmzPmP6XcbXFN84Qp40uOBNjnRCiHbF0y3Giq9RxbYKc-7d3Mwc/s1600/k03877.jpg

                       

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEi1V3RNK-w8CZNoNs_zScuQEPWPDv1YkJKj3FNrZFt_VvQG9Ixm7_gKb0MnTuzoZ2FDnTgetiryKM7w_6mzLs7gLmwT6OvsxmnVrGezzOy2VKx2oitBUYmt0b3F1W83GdeknhZ8yAkstDU/s1600/ayo3sb.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhlh7N2MhAqOkx40H5j3sEJM67eXrbfwdixS0sMqNsFbfk9Fuuw-tsgtD-vlJ1rSeElNkvy1CxbU3uDbYni4XdgDSuCV7RCxpFdjxy08SyI5_eCKD64q7L1QPzFm6szrhGlg9qYGkwJGgA/s200/cfchhg.jpg
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiWe-qtEndth66nEPPgJFUYUCOX-BmALUH8gbVpchcZdCLLDmrx4BIQSpAz4g8i9Qe5GpHdoalAoiXMbjpNibNHQKu2kBQ4FUvM4rDiKNdvBkiS_sj02xCwgQ8hImxs5eHns8h7_Fc0jYc/s320/75u7a3.jpg