วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

วิเคราะห์และอธิบายหลักการออกแบบสิ่งพิมพ์ที่ตนเองชื่นชอบ


http://3.bp.blogspot.com/-2LPZv5FzZwM/TyDlBtVNBzI/AAAAAAAAAMM/0vkLF-wrzG4/s400/1-63.jpg

ตั๋วรถเมล์...สิ่งพิมพ์เรียบง่าย  ที่อยู่ใกล้ตัว
           สิ่งพิมพ์ที่ใครหลายๆ คนคงรู้จักกันดีในยุคนี้  แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตรูปลักษณ์  และการออกแบบของกระดาษแผ่นเล็กๆ ที่เรียกว่า “ตั๋วรถเมล์”   โดยส่วนตัวแล้วฉันเป็นคนที่ใช้บริการรถโดยสารประจำทางหรือที่เราเรียกกันจนติดปากว่า รถเมล์ อยู่เป็นประจำ  พอได้ลองสังเกตเจ้ากระดาษแผ่นเล็กๆ ดูอย่างตั้งใจ  ก็รู้สึกว่าสนใจว่ามันมีอะไรมากกว่าที่จะเป็นแค่เศษกระดาษ  เพื่อยืนยันการจ่ายเงินค่าโดยสารรถประจำทางเพียงเท่านั้น  สิ่งนี้เองทำให้ฉันอยากจะวิเคราะห์หลักการออกแบบของสิ่งพิมพ์ที่มีความเรียบง่าย และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด  ดังเช่นตั๋วรถเมล์ใบเล็กๆ สิ่งนี้นั่นเอง
          ไม่น่าเชื่อว่าตั๋วเพียงหนึ่งใบจะสื่อความหมายหลายๆ อย่างเอาไว้ได้เป็นอย่างดี  หลังจากคิดที่จะวิเคราะห์เจ้ากระดาษแผ่นน้อยนี้แล้ว  จึงได้ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของตั๋วรถเมล์  จึงได้เรียนรู้เพิ่มมากขึ้นไปอีกว่ากระดาษแผ่นเล็ก  เปรียบเหมือน “กระดาษมหัศจรรย์” ทุกตัวอักษร  ทุกตัวเลขบนแผ่นกระดาษมีความหมายในตัวของมันเองอยู่ทั้งสิ้น  ทั้งๆ ที่เราเองก็เคยสงสัยแต่ไม่เคยที่จะสนใจในจุดนี้  ถือว่าเป็นความรู้ใหม่ที่ฉันได้รับเกี่ยวกับรายละเอียดต่างๆ  ภายในตั๋วรถเมล์หนึ่งใบ  ในที่นี้จะพูดถึงรูปลักษณ์หรือองค์ประกอบภายนอกโดยรวมของตั๋วรถเมล์  กระดาษรูปทรงสี่เหลี่ยมแผ่นเล็กๆ  ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมานั้นพอจะวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบของตั๋วรถเมล์ตามความเข้าใจของเราเอง 

          สังเกตได้ว่าในเรื่องของความสมดุล  (Balance) ตั๋วรถเมล์มีการกำหนดจุดศูนย์กลางของชิ้นงาน  เห็นได้ชัดจากเมื่อเรามองภายในตั๋วก็จะเห็นตัวเลขพิมพ์ด้วยสีเข้มหนาเรียงกันอยู่ส่วนกลางของกระดาษอย่างเด่นชัด นอกจากนี้ตัวอักษรที่มีความหนาหนัก ก็จะมีภาพสีสว่างสดใสมาช่วยให้สว่างขึ้น  และการที่พื้นหลังสีอ่อนช่วยทำให้ตัวอักษรไม่ถูกกลืนไปกับพื้นหลังได้เป็นอย่างดี  ตัวอักษรในกระดาษมีการกระจายเท่ากันทั้งซ้ายขวาของศูนย์กลาง ถือว่าในเรื่องความสมดุลตั๋วรถเมล์จัดอยู่ในเกณฑ์ที่มีความสมดุลที่เหมาะสม 
ในเรื่องของความมีเอกภาพ (Unity) ตั๋วรถเมล์มีเอกภาพ  ดูได้จากลักษณะของการใช้ตัวอักษรในลักษณะเดียวกัน เลือกใช้สีจากชุดสีเดียวกัน มีการวางโครงร่างได้เป็นระเบียบในทิศทางเดียวกันได้อย่างเหมาะสม อาจจะยังมีตั๋วรถเมล์บางส่วนที่ใช้สีไม่ไปในทิศทางเดียวกัน  แต่ก็ถือว่าเป็นแค่เพียงส่วนน้อยเท่านั้น 
  การเน้นจุดแห่งความสนใจ (Emphasis) ในส่วนบริเวณค่าโดยสารจะมีการทำพื้นทึบเป็นสีเข้มและตัวอักษรสีขาว  ทำให้ดูเด่นกว่าส่วนอื่นๆ ขึ้นมาได้เล็กน้อย  แต่ก็ไม่ถึงกับสะดุดตามากนัก  เนื่องจากสีของพื้นเป็นสีชุดเดียวกันกับทั้งแผ่นตั๋ว เรื่องของจังหวะ (Rhythm)  มีการเว้นช่องไฟที่ดี  ทำให้เมื่อมองภาพโดยรวมแล้วไม่รู้สึกอึดอัดตา สุดท้ายในเรื่องของความเรียบง่าย (Simplicity) ตั๋วรถเมล์เป็นสิ่งพิมพ์ที่ถือว่ามีความเรียบง่าย  จะเห็นได้จากการจัดวางตัวอักษร และตัวเลขที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งทำให้ง่ายต่อการรับรู้ของผู้อ่าน
จากการวิเคราะห์หลักการออกแบบตั๋วรถเมล์ข้างต้นตามความเข้าใจของตนเองแล้ว  รู้สึกได้ว่าตั๋วรถเมล์มีขั้นตอนการออกแบบที่ดี  มีความเหมาะสมในภาพโดยรวมแล้ว  ถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ให้ความใส่ใจกับรายละเอียดของการผลิตได้เป็นอย่างดี  อาจจะมีข้อบกพร่อง  ไม่เรียบร้อยบ้าง  แต่โดยรวมก็ถือว่ามีความเป็นแบบแผน  และทิศทางที่ชัดเจนในการผลิต  หากถ้าใครได้ลองใช้เวลาสักนิดเพื่อสังเกตตั๋วรถเมล์ในมือของตนเองแล้วก็จะเข้าใจในสิ่งที่ฉันได้สื่อสารออกไป เชื่อว่าหลายๆคนก็ต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ฉันได้บอกออกไปอย่างแน่นอน  เพียงแค่คุณได้ลองเปิดใจ  ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ของเศษกระดาษใบเล็กๆหนึ่งใบเพียงเท่านั้น...
http://3.bp.blogspot.com/-XuojqLl6RC4/TyFVMappQPI/AAAAAAAAAM0/l_tRZyECzZM/s320/7qHdC1210695479-1.jpg

http://1.bp.blogspot.com/-dxFdI0MCSGE/TyFl_y7afZI/AAAAAAAAANM/byjejPGdLtU/s200/tk03.jpg


แหล่งข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
http://student.nu.ac.th/saomee/lesson3.html
http://www.bangkokprint.com/index.php?knowledge=knowledge47
http://www.supremeprint.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=538976245


               _____________________________________
เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย...เกี่ยวกับ “ตั๋วรถเมล์”

http://3.bp.blogspot.com/-IjK2p_7YOec/TyFELtDyRZI/AAAAAAAAAMc/yGibK3q8RNQ/s320/62290_70.jpg

         1. เลข 1-15 หมายถึง ตัวเลขแทนช่วงระยะทาง ตัวเลขเหล่านี้หมายถึงระยะทางที่กรมการขนส่งได้กำหนดไว้เป็นมาตรฐาน ซึ่งรถเมล์ทุกสายไม่ว่าจะเป็นเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) หรือรถร่วมบริการต้องใช้ร่วมกัน อย่างเช่นเลขที่แทนช่วงระยะทางที่ 1 ก็จะมีระยะทางตั้งแต่ตลาดอตก.3 เลี้ยวถึงถนนประชาราษฎร์ ระยะทางที่ 2 ก็จะมีระยะทางตั้งแต่ถนนประชาราษฎร์ถึงสะพานพระราม 7 เป็นต้น ตัวเลขแทนช่วงระยะทางนี้จะมีมากกว่าหรือน้อยกว่า 15 ช่วงระยะก็ได้ ขึ้นอยู่กับองค์กรที่ให้บริการว่าจะให้บริการเส้นทางที่ใกล้ไกล มากน้อยขนาดไหน
            นอกจากจะแทนช่วงระยะทางแล้ว ตัวเลขเหล่านี้ยังสามารถบอกให้กับผู้โดยสารและนายตรวจตั๋วได้รู้อีกว่า ผู้โดยสารขึ้นจากรถเมล์ป้ายไหน และนับเป็นช่วงระยะทางที่เท่าไหร่ และถ้าเป็นรถเมล์ที่จ่ายเงินตามระยะทาง ก็จะบอกถึงราคาในแต่ละระยะทางอีกด้วย 
         2. โลโก้ของบริษัท บริษัทที่ให้บริการผู้โดยสารขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะใช้โลโก้แบบไหน ถ้าหากเป็นรถของขสมก. ก็จะเป็นตราของขสมก. แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชน ก็จะมีตราบริษัทที่ต่างกันออกไป จะเห็นได้จากตั๋วใบนี้ที่โลโก้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ BSS

         3. เลขรหัสม้วนตั๋ว เป็นเลข 3-4 หลักแรก (ซึ่งในแต่ละองค์กรที่ให้บริการจะกำหนดไม่เท่ากัน) ใน 7 หลัก ซึ่งจะแทนเส้นทางการเดินรถที่ทาง ขสมก. กำหนดขึ้น รวมทั้งยังแทนสายรถเมล์สายนั้นๆ ด้วย

         4. เลขจำนวนผู้โดยสาร เป็นเลข 3-4 หลักต่อท้ายจากเลขรหัสม้วนตั๋ว ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ 000 ในทุกๆ ม้วนตั๋วและจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ตามจำนวนผู้โดยสารในแต่ละวัน รู้อย่างนี้แล้วใครที่อยากได้ตั๋วที่ลงท้ายด้วย 000 ไปรอกันที่ท่ารถตั้งแต่รถออกได้เลย

         5. เลขหมวดตั๋ว เป็นเลขที่แทนรอบการผลิตตั๋วและแทนรถเมล์สายนั้นๆ ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1-1000 เลยทีเดียว อย่างเช่นตั๋วรถเมล์ในรูปนี้ เลขหมวดตั๋วคือ 55

         6. สีของตั๋ว สีของตั๋วนอกจากจะบอกถึงราคาแล้ว สำหรับรถเมล์ปรับอากาศคำนวณราคาตามระยะทางยังสามารถบอกถึงช่วงระยะในการเดินทางของผู้โดยสารอีกด้วย

แหล่งข้อมูลhttp://www.hflight.net/forum/m-1251967996/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น